วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)

สำหรับผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย จัดอบรมด้วยภาษาไทย


สวนโมกขพลาราม ร่วมกับ ธรรมทานมูลนิธิ จัดให้มีการอบรมสมาธิภาวนาแบบอานาปานสติ สำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมะ และต้องการปฏิบัติจนเห็นผลด้วยตนเอง

สมาธิแบบอานาปานสตินี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติจนตรัสรู้ และทรงแนะนำให้ศึกษาปฏิบัติให้มาก เพราะอำนวยประโยชน์ทั้งด้าน ความสงบ (สมถะ) และ ความรู้รอบ (วิปัสสนา)

“เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสติ, เอวํ พหุลีกตา;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล;
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา, ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่;
อิติ ด้วยประการฉะนี้แล“

จุดประสงค์ของการอบรม
เพื่อชี้แนะหลักธรรมที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง และเพื่อฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา จนสามารถสัมผัสความสงบเย็นภายใน และความอิสระของจิตใจ อันเกิดจากความประจักษ์ในสัจจธรรม

รูปแบบการจัดอบรม
ถือแนวทางการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้สมบูรณ์ ครบถ้วน ตามระบบองค์รวมแห่งพุทธธรรมทั้งสามด้าน กล่าวคือศีล-สมาธิ-ปัญญา อันจะนำไปสู่วิถีชีวิตที่สุขสงบเย็น ก้าวหน้า อย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน ทั้งส่วนตนและสังคมโดยรวม กล่าวคือ
ศีล : ฝึกการใช้ชีวิตที่สงบเย็น เรียบง่าย เป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุส่วนเกินให้มากที่สุด ให้ความสำคัญต่อการรักษาปฏิบัติตามระเบียบวินัยอันดีของชุมชน ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง โดยถือแนวปฏิบัติศีลแปดเป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำ.
สมาธิ : ฝึกหัดพัฒนายกระดับความมีคุณภาพและประสิทธิภาพของจิต ทั้งทางด้านสติและสมาธิด้วยระบบอานาปานสติภาวนา โดยฝึกหัดปฏิบัติในทุกอิริยาบถของการดำรงชีวิตตลอดระยะเวลาของการอบรม.
ปัญญา : ด้วยการนำเสนอหลักธรรมที่เป็นแก่นหลักของพุทธธรรม เพื่อเป็นแนวทางและพื้นฐานความรู้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดการพัฒนาปัญญาญาณ รู้เห็นแจ้งสภาวะตามความเป็นจริงของสัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง.
อนึ่ง จุดมุ่งหมายอันเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการอบรม ได้แก่การพัฒนาสภาวะความสงบเย็นภายในจิตใจของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นพื้นฐานเบื้องต้น จึงถือเป็นข้อตกลงที่เคร่งครัด ในการงดพูดจา ติดต่อสื่อสาร กับบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกตลอดระยะเวลาของการอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องถือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม

การเป็นอยู่
การใช้ชีวิตเป็นอยู่ ณ ธรรมาศรมนานาชาติ ซึ่งเป็นชุมชนแห่งพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ชุมชนแห่งสันติสงบร่มเย็น และการฝึกฝนพัฒนาตนเอง จึงใช้แนวทางที่ท่านอาจารย์พุทธทาสให้ไว้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ กล่าวคือ
“กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”,
“เป็นอยู่อย่างง่าย มุ่งกระทำสิ่งที่ยาก” และ
ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ดังนี้
รับประทานอาหารวันละ ๒ มื้อ (งดเว้นเนื้อสัตว์) วันที่ ๖ ของการอบรม จัดให้ฝึกเข้าอยู่อุโบสถศีล โดยรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว
ฝึกหัดการนอนด้วยหมอนไม้ พร้อมเครื่องนอนที่เรียบง่ายที่สุด ฝึกการใช้ชีวิตเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า
ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองโดยลำพัง เพื่อให้สามารถศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะจิตใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
ใช้เวลาของชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม และฝึกฝนอบรมตนเองตลอดเวลาของการอบรม
ใช้ชีวิตด้วยความสงบเย็น ผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียดเร่งร้อน ใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเรียนรู้สภาวะแห่งความสมดุลพอเหมาะพอดี ในทุก ๆ การกระทำแห่งการดำเนินชีวิต

การเตรียมตัว
ท่านควรศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติการเป็นอยู่และตารางเวลากิจกรรมให้เข้าใจอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อให้ท่านสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตแห่งการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง โดยไม่เกิดความวิตกกังวลใด ๆ
จัดการธุระส่วนตัวให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อตัดสิ่งที่จะกวนจิตใจของท่านตลอดระยะเวลา ๗ วันของการอบรม
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด ๆ โปรดสอบถามอาสาสมัครผู้ทำหน้าที่ประสานการจัดอบรม เพื่อขจัดสิ่งรบกวนจิตใจท่านก่อนเริ่มการอบรม และเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยให้มากที่สุดตลอดการอบรม

ข้อควรระลึก
ท่านที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ควรระลึกเสมอว่า ท่านต้องการเข้าร่วมกิจกรรม อบรมพัฒนา ฝึกฝนตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนอบรมตนที่ยากลำบากบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเรียนรู้และปรับตัว จะต้องใช้ความอดทนและความเพียรเป็นอย่างสูง แต่จะนำมาซึ่งผลอันมีคุณค่าสูงยิ่งต่อการดำรงชีวิตอย่างมิอาจประเมินค่าได้ กรุณาอย่าเข้าร่วมอบรมเพื่อทดลองเล่น หรือหวังว่าจะได้อะไรดี ๆ โดยปราศจากการลงแรง หรือได้มาด้วยความสะดวกสบายเลย ท่านจะพบกับความผิดหวังอย่างแน่นอน โปรดตระหนักไว้เสมอว่า พระบรมศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัจธรรมอันสูงสุด ในสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติธรรมดาที่สุด มิได้ตรัสรู้ในพระราชวังอันแสนสะดวกสบาย ที่พระองค์ทรงสละละทิ้งออกมา
ท่านพร้อมแล้วหรือยัง ?

ข้อพึงปฏิบัติ
อยู่ร่วมตลอดการอบรม เข้าร่วมทุกรายการและตรงต่อเวลา
งดติดต่อบุคคลภายนอก และไม่ออกนอกบริเวณที่อบรม
งดการพูดคุยกับผู้ปฏิบัติอื่น มีปัญหากรุณาถามวิทยากร หรือเจ้าหน้าที่
ไม่นำอาหาร หรือของกินอย่างอื่นติดตัวมา ควรรับประทานอาหารเฉพาะที่จัดให้ เพื่อความเป็นอยู่อย่างง่าย
ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ด้วยความกระตือรือร้น
ไม่คาดหวังเกินไปจนเคร่งเครียด ปฏิบัติด้วยความผ่อนคลาย
งดส่งเสียงดังทุกกรณี และมีความเกรงใจผู้อื่น
มีสติในทุกอิริยาบถ ทำงานและกิจวัตรทุกอย่างให้เป็นการปฏิบัติธรรม
งดใช้เครื่องประดับของมีค่า และไม่ควรนำติดตัวมา

ของใช้จำเป็นที่ต้องนำมา
เสื้อตัวยาวคลุมสะโพก ไม่รัดรูป ไม่บาง ไม่ใช้เสื้อแขนกุด
ผ้าถุงหรือกางเกงขายาว สีสุภาพ งดนุ่งกางเกงขาสั้น
ผ้าสำหรับใส่เวลาอาบน้ำ มีสีเข้ม ๒ ผืน (ชาย-ผ้าขาวม้า, หญิง-ผ้าถุง)
ยาทากันยุง
ยา (หากมีโรคประจำตัว)
ร่ม
ถุงย่าม หรือถุงผ้า (งดใช้ถุงพลาสติก)

กำหนดการ
วันที่ ๑๙
๐๘.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ลงทะเบียน เข้าห้องพัก
๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. นำชมสถานที่ และระเบียบความเป็นอยู่
๑๗.๐๐ - ๑๘.๑๕ น. ดื่มน้ำปานะ และพักตามอัธยาศัย
๑๙.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ - ๒๑.๐๐ น. ชี้แจงรายละเอียดการอบรม
๒๑.๐๐ - ๐๔.๐๐ น. พักผ่อน



วันที่ ๒๐-๒๖ (อาจมีการปรับเล็กน้อยในบางวัน)
๐๔.๓๐ - ๐๕.๐๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า
๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. ธรรมรับอรุณ
๐๖.๐๐ – ๐๗.๐๐ น. กายบริหาร
๐๗.๐๐ - ๐๗.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๐๗.๓๐ - ๐๙.๑๕ น. อาหารเช้า งานอาสาสมัคร พักผ่อน
๐๙.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. ธรรมปฏิสันถาร
๑๐.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. ธรรมบรรยาย
๑๑.๓๐ - ๑๓.๑๕ น. อาหารกลางวัน และพักตามอัธยาศัย
๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. เทปอานาปานสติ
๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. แนะนำเทคนิคการปฏิบัติ
๑๗.๐๐ - ๑๘.๔๕ น. ดื่มน้ำปานะ และพักตามอัธยาศัย
๑๙.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา.
๒๑.๐๐ - ๐๔.๐๐ น พักผ่อน (ไฟฟ้าดับ ระหว่างเวลา ๒๑.๓๐-๐๔.๐๐ น.)



วันที่ ๒๗
๐๔.๓๐ - ๐๕.๐๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า
๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. ธรรมรับอรุณ
๐๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. นำชม ธรรมาศรมธรรมมาตา และ ธรรมาศรมธรรมทูต
๐๙.๐๐ น. เดินทางกลับ หรือข้ามไปอาคารธรรมทานดูหนังสือและสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวกับธรรมบรรยาย แล้วเข้าไปทัศนศึกษาในสวนโมกข์ฝั่งที่เป็นวัด



คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
อายุระหว่าง ๒๐-๖๕ ปี (จะพิจารณารับผู้ที่อายุต่ำหรือสูงกว่านี้ ตามความเหมาะสม)
ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม
มีความตั้งใจจริง และมีความศรัทธาที่จะรับการอบรม
พร้อมและเต็มใจรักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด โดยเฉพาะการงดพูดคุยสนทนาตลอดเวลาทั้ง ๗ วัน

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

พุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

เป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญองค์กรหนึ่งของประเทศไทย ยุวพุทธิกะ มีความหมายว่า "ผู้เยาว์ที่นับถือในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า" ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดที่จะนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงเยาวชนและคนรุ่นใหม่ โดยได้มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมมากว่า 50 ปี

ร ะ วั ติ ยุ ว พุ ท ธิ ก ส ม า ค ม แ ห่ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ฯ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง หนุ่มสาวชาวพุทธในกรุงเทพมหานครกลุ่มหนึ่งที่มีความ
สนใจทางด้านพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยบุคคลสำคัญ ๓ ท่าน คือ

๑. นายเสถียร โพธินันทะ
๒. นายบุญยง ว่องวานิช
๓. นายสุพจน์ แสงสมบูรณ์

ทั้ง ๓ ท่านจัดตั้ง "คณะยุวพุทธิกะ" ขึ้นเมื่อวันพุธ ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ โดย มีความเห็นพ้องกันว่า จะต้องตั้งสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำหรับคนวัยเดียวกัน เพื่อจะได้ ชักจูงคนหนุ่มสาว ให้มาสนใจในพระพุทธศาสนา และแก้ความเข้าใจผิดของคนปัจจุบันที่ว่า ศาสนาเป็นของคนคร่ำครึ โดยได้รับความเมตตาจาก พระศรีวิสุทธิญาณ หรือสุชีโวภิกขุ (ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ถึงแก่กรรม ) แห่งวัดกันมาตุยาราม อนุญาตให้ใช้พระอุโบสถเป็นสำนักงานในขณะนั้น พุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

กิ จ ก ร ร ม ข อ ง ยุ ว พุ ท ธ


ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน และผู้ที่เคยผ่านหลักสูตร พัฒนาจิตให้เกิดปัญญา
และสันติสุข ของคุณแม่สิริ กรินชัย จึงเกิดศูนย์วิปัสสนากรรมฐานยุวพุทธฯ ถึง ๓ แห่งในปัจจุบัน
เป็นเวลา กว่า ๕๓ ปีแล้วที่สมคมได้ดำเนินงานด้านวิปัสสนากรรมฐานและใช้เป็นที่ศึกษา
ค้นคว้าทั้งด้าน ปริยัติและปฏิบัติด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยบริการด้านห้องสมุด ธรรมบันเทิง
เป็นศูนย์รวม ด้านเอกสาร เทป และวีดีโอ เพื่อรองรับและพัมนากิจกรรมที่มีคุณค่า
ให้สอดคล้องกับยุคสมัย ด้านเอกสาร เทป
ปัจจุบันมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมาคมจัดขึ้น ประมวลตามลักษณะกิจกรรมละกุล่มเป้าหมาย ดังนี้

๑. กิจกรรมด้านปริยัติ

เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องทางพระพุทธศาสนาให้แก่สมาชิก
และ พระพุทธศาสนิกชนสมาคมได้จัดกิจกรรมที่น่าสนใจขึ้นเป็นประจำทุกวันอาทิตย์
ได้แก่
โครงการ แสงธรรมวันอาทิตย์ (ทุกวันอาทิตย์ ที่ ๒ และ ๓ ของทุกเดือน/
ช่วงเข้าพรรษา จัดเป็นประจำทุก วันอาทิตย์)
โครงการศึกษาพระอภิธรรม การบรรยายพระไตรปิฏกและการสอนภาษาบาลี
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

๒. กิจกรรมด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ถือเป็นกิจกรรมหลักและสำคัญที่สุดของสมาคม โดยจัดอบรมขึ้นเป็นประจำทุกเดือน
เพื่อให้ สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวทางที่ได้ผลดี
และ เป็นที่นิยมทั่วไปเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต ได้แก่
หลักสูตรพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข โดยคุณแม่สิริ กรินชัย
หลักสูตรเจริญสติฯ , หลักสูตรวิปัสสนาสำหรับเยาวชนอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป
หลักสูตรวิปัสสนาสายพุทโธ และหลักสูตรอื่น ๆ โดยพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิ
โดยยึดหลักมหาสติปัฏฐาน ๔
หลักสูตรวิปัสนากรรมฐานสำหรับพระสงฆ์ เป็นอีกความสำคัญและ
จัดอบรมให้ความรู้แก่พระสงฆ์เป็นประจำทุกปี

๓. กิจกรรมด้านส่งเสริมเยาวชน

เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนได้รู้จักหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาและสามารถนำไป
ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สมาคมจึงได้จัดหลักสูตรสำหรับเยาวชนขึ้น ได้แก่
หลักสูตรเนกขัมมบารมี หลักสูตรพุทธธรรม หลักสูตรพรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
หลักสูตรค่ายพุทธบุตรเพื่อชีวิตใหม่ หลักสูตรพัฒนาจิตฯสำหรับเยาวชน ฯล ฯ

๔. กิจกรรมด้านการศึกษา

โรงเรียนยุวพุทธพิทยา
เป็นโครงการให้การศึกษาระดับอนุบาลตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ โดยเน้นการอบรมลูกฝังคุณธรรมในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันเปิดสอน ๕ ห้องเรียน มีนักเรียนอนุบาลประมาณ ๑๒๐ คน รับสมัครนักเรียนที่มีอายุ ๓-๖ปี ที่มีบ้านพักอาศัยไม่ไกลจากสมาคม

โรงเรียนยุวพุทธพิทยาดำเนินงานมายาวนานทั้งสิ้น ๒๕ ปี จนกระทั่ง ในปี ๒๕๔๙ ยุวพุทธิกสมาคม ได้ยกเลิกโรงเรียน เนื่องจากเห็นว่ามีโรงเรียนต่างๆ ในเขตข้างเคียงเป็นจำนวนมากและ เพื่อใช้พื้นที่ในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ซึ่งจะเป็นศูนย์พัฒนาเยาวชนให้สามารถส้รางเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคมได้มากขึ้น

โครงการอบรมครูสอนวิชาพระพุทธศานา

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของครูที่มีบทบาท โดยตรงในการอบรมสั่งสอนเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ สมาคมจึงจัดอบรมความรู้ ทาง พระพุทธศาสนาให้แก่ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ต่อไป

๕. กิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์

ตลาดนัดเมตตา
สมาคมรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จากผู้มีจิตศรัทธาแล้วนำไปจำหน่าย
ในราคา ถูกแก่ผู้มีรายได้น้อย รายได้ทั้งหมดสมทบเข้ากองทุนเพื่อการศึกษา
ของนักเรียน ร.ร.ยุวพุทธพิทยา

๖. กิจกรรมทั่วไป

กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สมาคมอาราธนาพระสงฆ์มารับบิณฑบาตในตอนเช้าและร่วมบำเพ็ญกุลศลด้วยการฟังธรรม
เจริญจิตภาวนาในวันมาฆบูชาและวันปีใหม่ ทั้งนี้เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ
่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๗. ร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยุวพุทธิกสมาคมฯให้การสนับสนุนและร่วมมือกับองค์การต่างๆ ภายในประเทศและที่มีบทบาท
หน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน ดำเนินการพัฒนาบุคคลและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การร่วมประชุมร่วมจัดกิจกรรม,เอื้อเฟื้อสถานที่ เป็นต้น
- เป็นสมาชิกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่
อยู่ในประเทศไทย
- เป็นสมาชิกขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.)
- เป็นสมาชิกของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ

ขั้นตอนการสมัครเพื่อปฏิบัติธรรม
1. ทำประวัติรับ Ybat card
ผู้สนใจจะสมัครเข้าอบรมปฏิบัติธรรม จะต้องทำทะเบียนประวัติกับสมาคม เพื่อรับบัตรประจำตัว YBAT Card ก่อน
โดยดำเนินการดังนี้

เขียนจดหมายแจ้งความประสงค์ขอรับ ใบกรอกทะเบียนประวัติ และ ใบสมัคร พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการ/หลักสูตร (กรุณาระบุให้ชัดเจน) พร้อมแนบซองเปล่าจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง
ติดสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง ส่งจดมายขอเอกสารไปยัง ฝ่ายกิจกรรม ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
๕๘/๘ ซอยเพชรเกษม ๕๔ ถ.เพชรเกษม แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
หรือ ติดต่อขอรับเอกสารด้วยตนเอง ณ ที่ทำการสมาคม
หรือ ดาวน์โหลดเอกสาร จากเว็บไซต์ http://www.ybat.org/

* ทำทะเบียนแล้วท่านจะได้รับ บัตร YBAT Card หรือท่านที่เป็นสมาชิกของสมาคมอยู่แล้ว จะได้รับ Ybat Member Card โปรดแสดงบัตรของท่านทุกครั้งที่ติดต่อยุวพุทธ เพื่อรับบริการที่รวดเร็ว ท่านไม่ต้องกรอกประวัติอีก ยกเว้นกรณีที่ท่านต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือที่ทำงาน

* ใบสมัครเข้ารับการอบรมสามารถถ่ายเอกสารเก็บไว้ใช้สมัครในครั้งต่อๆไปได้
จนกว่าสมาคมจะประกาศเปลี่ยนแบบฟอร์ม

2. ส่งใบสมัคร รับใบตอบรับเข้าอบรม

ก่อนส่งใบสมัคร โปรดตรวจสอบว่าหลักสูตรที่ท่านสนใจ มีผู้รับสมัครเต็มหรือไม่

เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้ท่านอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียด/ระเบียบการ ระเบียบฏิบัติและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรมแต่ละรุ่น หากท่านมีคุณสมบัติตรงตามที่ระบุในแต่ละโครงการ และสามารถปฏิบัติตามระเบียบโครงการได้ ให้ทำดังนี้

กรอกใบสมัครให้ครบถ้วน ชัดเจน อาจจะเขียนด้วยลายมือ หรือใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ได้
ใบสมัคร ๑ ใบท่านระบุเลือกสมัครได้ ๒ หลักสูตร แต่จะได้สิทธิ์เข้าอบรมเพียงหลักสูตรเดียว
กล่าวคือ สมาคมจะพิจารณาหลักสูตรแรกที่ท่านระบุ หากเต็มแล้ว
สมาคมจะพิจารณาสิทธิ์ให้ท่านได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรลำดับที่ ๒
ส่งใบสมัคร และเอกสารอื่นๆ ที่โครงการระบุ พร้อมแนบสแตมป์ ๕ บาท ๑ ดวง
ส่งใบสมัครไปยังสมาคมโดยทาง ไปรษณีย์ หรือ นำส่งด้วยตัวท่านเอง
ที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ซอยเพชรเกษม ๕๔ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
สมาคมจะให้สิทธิ์ผู้ที่ส่งเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วน ได้เข้าอบรมก่อน

สมาคมสงวนสิทธิ์ที่จะ ไม่รับใบสมัครทางแฟกซ์ เนื่องจากเอกสารอาจสูญหายระหว่างการส่ง
และเอกสารจากเครื่องแฟกซ์ไม่ชัดเจน


เมื่อสมาคมได้รับเอกสารการสมัครของท่าน สมาคมจะพิจารณาตามลำดับ หากสามารถรับท่านเข้าอบรมได้สมาคมจะส่งเอกสารใบตอบรับการสมัครถึงท่านทันที
โดยทางไปรษณีย์
หากท่านไม่ได้รับการติดต่อจากสมาคมหลังจากส่งใบสมัครแล้วเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ กรุณาโทรสอบถาม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม โทรศัพท์ ๐-๐๘๐๕-๐๗๙๐-๔ ต่อ ๒๐๒ - ๒๐๕

สมาคมขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้สมัครท่านท่าน เข้าอบรมโครงการต่าง ๆ ได้ไม่เกิน ๓ รุ่น ต่อปี ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้อื่นได้เข้าอบรมด้วย

3. ยืนยันการเข้าอบรม

ผู้สมัครที่ได้รับใบตอบรับของแต่ละรุ่นแล้ว

ต้องส่งใบยืนยันการเข้าอบรมกลับไปยังสมาคมก่อถึงวันเข้าอบรมประมาณ ๒ สัปดาห์ (ระบุในใบตอบรับแล้วอย่างชัดเจน) เพื่อเป็นการยืนยันความประสงค์ของท่านในการเข้าอบรมรุ่นนั้นๆ
หากพ้นกำหนดระยะเวลาการยืนยัน แล้วท่านไม่ทำการยืนยัน สมาคมจะถือว่าท่านสละสิทธิ์
อนึ่ง ท่านไม่สามารถจะส่งผู้อื่นเข้าอบรมแทนได้ เนื่องจากแต่ละรุ่นสมาคมได้รับสมัครผู้เข้าอบรมสำรองไว้แล้ว

4. ลงทะเบียนเข้าอบรม

ในวันเปิดการอบรม ให้ท่านเดินทางไปรายงานตัวตามสถานที่ ที่จัดการอบรม (ศูนย์ ๑ บางแค หรือ ศูนย์ ๒ ปทุมธานี) พร้อมกระเป๋าสัมภาระของท่าน

เอกสารที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่คือ
(๑) ใบตอบรับส่วนที่ ๑
(๒) บัตรประจำตัวประชาชน
(๓) บัตร Ybat Card หรือ บัตร Ybat Member Card
ท่านที่ไม่นำเอกสารไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้รับความสะดวก หรืออาจเสียสิทธิ์ในการเข้าอบรม หากไม่นำบัตร YbatCard หรือ บัตร Ybat Member Card ไปด้วย จะต้องเสียค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ๒๐ บาท และท่านจะเสียเวลาบ้างในระหว่างรอทำบัตร
เมื่อท่านลงทะเบียนล้ว ท่านจะได้รับป้ายชื่อ ซึ่งระบุชื่อของท่านและหมายเลขห้องพัก ให้ท่านนำสัมภาระไปเก็บในห้องพัก เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดปฏิบัติธรรมและรอสัญญาณเรียกเข้าห้องปฏิบัติธรรมเพื่อปฐมนิเทศต่อไป

www.bangkoktravel.siam.im

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดอัมพวัน สิงห์บุรี



การเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

ท่านสามารถจะเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันได้ โดยทางรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทางที่ท่าขนส่งสายเหนือ (หมอชิต)

เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ

ขับรถยนต์ส่วนตัวจากในตัวเมืองกรุงเทพฯ ออกได้หลายทาง เช่น เส้นถนนวงแหวนไปบางปะอิน หรือไปเส้นถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิต เลี้ยวซ้ายตัดเข้าถนนสายเอเซีย ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง เข้าอำเภอพรหมบุรี จนกระทั่งถึงป้ายแนวเขตค่ายพม่า (ซ้ายมือ) และจะเห็นป้ายวัดอัมพวัน (ซ้ายมือ) ให้ขับเลี้ยวซ้ายตรงเข้าไปเรื่อย ๆ ประมาณ ๑ ก.ม. ท่านก็จะถึงวัดอัมพวันครับ

เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

โดยสารรถประจำทางไปจังหวัดสิงห์บุรี หรือ จังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่เลยขึ้นไปทางเหนือ โดยมีเส้นทางผ่านถนนสายเอเซีย ที่ท่าขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) ท่านสามารถบอกเจ้าหน้าที่ประจำรถโดยสารว่า ให้จอดหน้าวัดอัมพวัน ก็จะได้รับความสะดวกครับ หลังจากลงรถประจำทางแล้ว ท่านยังสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง จากปากทางเข้าวัดไปยังวัดอัมพวันได้ครับ หรือท่านจะออกกำลังกายด้วยการเดินก็ได้ครับ ระยะทางแค่ ๑ ก.ม.

ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม

ณ สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายคฤหัสถ์ วัดอัมพวัน อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี

ผู้ที่สมัครเข้ามาปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายคฤหัสถ์ ควรทำความเข้าใจ ในระเบียบปฏิบัติ ดังนี้

๑. ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องแจ้งความจำนงต่ออาจารย์ผู้ปกครอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลอำนวยความสะดวก และรับลงทะเบียนโดยจะมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสับเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่จัดที่พัก แนะนำขั้นตอนแก่ผู้มาใหม่

๒. ต้องแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรในใบสมัคร ซึ่งทางสำนักจัดเตรียมไว้ให้ ต้องมีบัตรประชาชน หรือใบสำคัญแสดงสัญชาติ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี เพื่อแสดงแก่อาจารย์ ผู้ปกครองของสำนักจนเป็นที่พอใจ

๓. จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่า จะอยู่ปฏิบัติกี่วัน ถ้าหากท่านเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่เคยรับการฝึกปฏิบัติที่วัดอัมพวัน ควรอยู่ปฏิบัติอย่างน้อย ๓ วัน ส่วนท่านที่เคยรับการฝึกปฏิบัติแล้วควรอยู่ปฏิบัติให้ครบ ๗ วัน และปฏิบัติอยู่ในระเบียบที่กำหนดของสำนัก ส่วนผู้ที่มีความประสงค์อยู่ต่อ หลังจากปฏิบัติครบ ๗ วันแล้ว ให้ขออยู่ต่อเป็นกรณี ๆ ไป

๔. ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ซึ่งไม่มีผู้ปกครองมาด้วย (ยกเว้นได้รับอนุญาต) ผู้ป่วยโรคจิต โรคติดต่อ โรคที่สังคมรังเกียจ หรือมีอวัยวะไม่สมบูรณ์ และผู้ที่บวชเพื่อแก้บน ทางสำนักไม่สามารถรับไว้ปฏิบัติธรรมได้

๕. หากนักปฏิบัติยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับอนุญาตจากมารดา บิดา สามี หรือผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษรในใบสมัคร

๖. สำหรับผู้ที่มาลงทะเบียน ในช่วงเช้าหรือก่อน ๑๗.๐๐ น. ควรเข้าที่พักเพื่อพักผ่อน หรือทำกิจต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน เมื่อถึงเวลาห้าโมงเย็น จึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดปฏิบัติธรรมสีขาวแบบสุภาพเรียบร้อย ไม่มีลวดลายหรือเครื่องประดับ และไม่สวมลูกประคำ เมื่อท่านแต่งชุดขาวแล้ว ห้ามออกไปนอกเขตภาวนา และห้ามไปรับประทานอาหาร

๗. ให้ผู้ปฏิบัติมาพร้อมกัน ณ ศาลาคามวาสี (ศาลาหลวงพ่อเทพนิมิต) อยู่ตรงข้ามศาลาลงทะเบียน เวลา ๑๘.๐๐ น. หรือที่นัดหมาย ที่เจ้าหน้าที่จัดตามความเหมาะสม เพื่อทำพิธีขอศีลแปด จากพระภิกษุที่ได้รับนิมนต์ไว้ โดยเจ้าหน้าที่จะได้จัดเตรียม ดอกไม้ธูปเทียนไว้ให้ผู้ปฏิบัติใช้ในพิธี

๘. การปฏิบัติธรรมแบ่งออกเป็น ๔ ช่วงในแต่ละวันดังนี้

ช่วงแรก ๐๔.๐๐ น. - ๐๖.๓๐ น.

ช่วงที่สอง ๐๘.๐๐ น. - ๑๑.๐๐ น.

ช่วงที่สาม ๑๓.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น.

ช่วงที่สี่ ๑๘.๓๐ น. - ๒๑.๐๐ น.

๙. ผู้ปฏิบัติต้องมาพร้อมกันที่ศาลาปฏิบัติของสำนัก ตามเวลาที่กำหนดโดยฟังจากสัญญาณระฆัง ใช้ศาลาเป็นที่นั่งกรรมฐาน และบริเวณรอบนอกศาลาเป็นที่เดินจงกรม

๑๐. ขั้นตอนการปฏิบัติ เมื่อผู้ปฏิบัติมาพร้อมกันตามเวลาในการปฏิบัติช่วงแรก ณ สถานที่ปฏิบัติแล้ว หัวหน้าจุดเทียนธูปบูชา พระรัตนตรัย นำสวดมนต์ กราบพระประธานแล้ว จึงเริ่มปฏิบัติธรรม โดยการเดินจงกรมก่อน ๓๐ นาที แล้วเปลี่ยนอิริยาบถ เข้ามานั่งกรรมฐาน ๓๐ นาที สลับกันไปจนครบเวลาปฏิบัติที่กำหนด ส่วนเวลาในการปฏิบัติ ๓๐ นาที ที่กำหนดนี้ ผู้ปฏิบัติอาจปรับ ให้มากหรือน้อยกว่า ๓๐ นาที ตามความเหมาะสมของสภาวะอารมณ์

๑๑. ก่อนถึงเวลาพักทุกช่วง ผู้ปฏิบัติธรรมควรอยู่ในอิริยาบถ ของการนั่งกรรมฐาน ทั้งนี้เพราะเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติในแต่ละช่วง จะได้แผ่เมตตาต่อไปได้ โดยไม่เสียสมาธิจิต

๑๒. เมื่อแผ่เมตตา (สัพเพ สัตตา...) เสร็จแล้ว นั่งพับเพียบประนมมือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญในการปฏิบัติธรรมแก่มารดา บิดา ญาติพี่น้อง เทวดา เปรต และสรรพสัตว์ทั้งหลาย (อิทัง เม มาติปิตูนัง โหตุ....) จากนั้นลุกขึ้นนั่งคุกเข่า สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย (อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา....) กราบพระประธาน

ขั้นตอนในการปฏิบัติจะเป็นเช่นเดียวกันในทุกช่วง เว้นแต่การจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัยในช่วยที่ ๒-๓-๔ ไม่มี เพราะได้บูชาแล้วในช่วงแรก

๑๓. การให้ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติที่มาใหม่ อาจารย์หรือหัวหน้า ผู้ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ส่วนการทดสอบอารมณ์ตลอดจนความรู้ที่ละเอียดขึ้น ทางอาจารย์ใหญ่ จะเป็นผู้ให้ความรู้หลังจากปฏิบัติธรรม ช่วงแรกเสร็จเวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. ผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่เข้าใจ หากมีข้อสงสัยใด ๆ อาจใช้ช่วงเวลานี้สอบถามขอความรู้ได้

๑๔. ห้ามคุย บอก หรือ ถามสภาวะกับผู้ปฏิบัติ เพราะจะเป็นภัย แก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่าน และเพ้อเจ้อ หากมีความสงสัยในข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรแล้ว ให้เก็บไว้สอบถามครูผู้สอน ห้ามสอบถามผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นอันขาด

๑๕. ถ้ามีความจำเป็นจริง ๆ ก็ให้พูดเบา ๆ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ควรพูดนาน เพราะจะทำให้ฟุ้งซ่าน ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง และทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า

๑๖. ถ้ามีเรื่องจะพูดกันนาน ต้องออกจากห้องกรรมฐาน ไปพูดในสถานที่อื่น ห้ามใช้ห้องปฏิบัติรับแขก

๑๗. ขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ ห้ามอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เรียนหนังสือ ฟังวิทยุ ดูทีวี ตลอดจนสูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก

๑๘. ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา หรือ นำยาเสพติด ทุกชนิด เข้ามาในบริเวณสำนักเป็นอันขาด

๑๙. นักปฏิบัติต้องระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดี กินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และสิ่งที่กระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบ ความอดทนและคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามีอยู่มาน้อยเพียงใด

นักปฏิบัติต้องเข้าอบรม รับศีล ประชุมพร้อมกันในอุโบสถ หรือ ศาลาที่จัดไว้ตามความเหมาะสมกับจำนวนนักปฏิบัติ ในวันพระ

หากผู้ปฏิบัติเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น ให้รีบแจ้งแก่เจ้าหน้าที่โดยเร็ว เพื่อหาทางช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี ไม่ควรละการปฏิบัติ ในเมื่อไม่มีความจำเป็น

ห้องหรือกุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติ เฉพาะพระสงฆ์ก็ดี หรือห้องที่จัดไว้เฉพาะนักปฏิบัติที่เป็นบุรุษก็ดี สตรีก็ดี ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องน้ำ ห้องส้วมนั้นเด็ดขาด

๒๐. ทุกวันอุโบสถ (วันพระ) ในช่วงบ่ายให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าปฏิบัติธรรม ณ สถานที่ ที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบ โดยมาพร้อมกัน ณ กุฏิอาจารย์ใหญ่ เวลา ๑๓.๓๐ น. อาจารย์ใหญ่จะเป็นผู้นำไป และเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. หลังจากนั้นหลวงพ่อ พระราชสุทธิญาณมงคล จะลงสวดมนต์ทำวัตรเย็น ประกอบพิธี ให้กรรมฐานแก่ผู้ปฏิบัติที่มาใหม่ และแสดงพระธรรมเทศนา

๒๑. การเข้านั่งในอุโบสถ ให้ผู้ปฏิบัติธรรมนั่งหันหน้าไปทางพระประธาน โดยสังเกตการนั่งให้เป็นแถวขนานไปกับพระสงฆ์

๒๒. เมื่อถึงบริเวณพิธี ให้คอยสังเกตสัญญาณการนั่ง การกราบ จากอาจารย์ผู้นำ ทั้งนี้เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นระเบียบและเจริญตา แก่ผู้พบเห็น

๒๓. การออกนอกบริเวณสำนักโดยการพิธีทุกครั้ง อาจารย์ผู้ปกครองจะเป็นผู้นำทั้งไปและกลับ ให้เดินเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส ด้วยอาการสงบสำรวม

๒๔. นักปฏิบัติจะต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น ถ้าไม่มีธุระจำเป็น ไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นต้องออกนอกสำนัก ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเสียก่อน

๒๕. ทางสำนักได้จัดที่พักไว้โดยเฉพาะเป็นห้อง ๆ มีไฟฟ้า น้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมพร้อม ขอความร่วมมือได้โปรดช่วยกันรักษาความสะอาดในห้อง หน้าห้อง ห้องน้ำ ห้องส้วม และขอให้ใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด

๒๖. ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟฟ้า และพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในห้องพัก

๒๗. เวลาว่างตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนเย็น ผู้ปฏิบัติธรรม อาจใช้เวลาว่าง ทำความสะอาดกวาดลานภายในเขตสำนักและบริเวณที่พัก เพื่อความสะอาดของสถานที่และเจริญสุขภาพของผู้ปฏิบัติ

๒๘. การรับประทานอาหารมี ๒ เวลา และดื่มน้ำปานะ ๑ เวลาดังนี้

๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า

๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๗.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ

๒๙. การรับประทานอาหารและดื่มน้ำปานะทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องมารับประทาน พร้อมกันที่โรงอาหารตรงตามเวลาที่กำหนด

๓๐. เมื่อตักอาหารใส่ภาชนะแล้ว ให้เข้านั่งประจำที่ให้เป็นระเบียบ ควรนั่งให้เต็มเป็นโต๊ะ ๆ ไปก่อน โดยผู้ไปถึงก่อนต้องนั่งชิด้านในก่อนเสมอ เมื่อเต็มแล้ว จึงเริ่มโต๊ะใหม่ต่อไป รอจนพร้อมเพรียงกัน แล้วหัวหน้าจะกล่าวนำ ขออนุญาตรับประทานอาหาร

๓๑. ขณะนั่งรอและรับประทานอาหาร ผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ควรคุยกันหรือแสดงอาการใด ๆ ที่ไม่สำรวม

๓๒. เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ให้นั่งรออยู่ที่เดิม จนทุกคนรับประทานอาหารเสร็จ ให้ประนมมือ หัวหน้าจะให้พรผู้บริจาคอาหาร (สัพพี ฯลฯ..) ผู้ปฏิบัติธรรมสวดรับโดยพร้อมเพรียงกัน

๓๓. เมื่อเสร็จจากการรับประทานอาหาร ให้ผู้ปฏิบัติธรรมช่วยกันเก็บกวาดสถานที่ ทำความสะอาดภาชนะ จัดโต๊ะ เก้าอี้ ให้เรียบร้อย

๓๔. นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของที่มีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหาย ทางสำนักจะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

๓๕. นักปฏิบัติจะต้องไม่คะนองกาย วาจา หรือส่งเสียงก่อความรำคาญ หรือพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยไม่มีความจำเป็น ถ้ามีผู้มาเยี่ยม จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน การเยี่ยมนั้นให้แขกคุยได้ไม่เกิน ๑๕ นาที ถ้าเป็นแขกต่างเพศ ให้ออกไปคุยข้างนอกสถานที่ปฏิบัติธรรม

๓๖. การลา เมื่อผู้ปฏิบัติธรรม ได้ปฏิบัติครบตามกำหนดที่ได้แจ้งความจำนงไว้แล้วนั้น เจ้าหน้าที่จะได้จัดเตรียมดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อทำพิธีลาศีล และขอขมาพระรัตนตรัย ให้ผู้ปฏิบัติธรรมที่จะลาศีล พร้อมกัน ณ ที่นัดหมาย (ฟังประกาศจากเจ้าหน้าที่) โดยอาจารย์ผู้ปกครองเป็นผู้นำไป

อนึ่ง ทางสำนักจะงดพิธีรับศีลในวันโกน และไม่มีพิธีลาศีลในวันพระ ดังนั้น ท่านที่มาลงทะเบียนเข้าปฏิบัติธรรมในวันโกน จะได้เข้ารับพิธีรับศีลในวันพระ ส่วนที่ที่จะลากลับในวันพระ หรือวันถัดจากวันพระ จะต้องเข้าลาศีลล่วงหน้า แต่คงปฏิบัติธรรมได้ตามปกติ จนถึงกำหนดวันที่ท่านได้แจ้งไว้ในใบลงทะเบียน

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องลากลับก่อนกำหนดนั้น ผู้ปฏิบัติต้องแจ้งให้อาจารย์ผู้ปกครองทราบสาเหตุ และหากไม่มีความจำเป็น ไม่ควรหนีกลับไปโดยพลการ เพราะจะเป็นผลเสียต่อผู้ปฏิบัติ

๓๗. ถ้านักปฏิบัติผู้ใด ไม่ทำตามระเบียบของสำนักที่กำหนดไว้นี้ ทางสำนักจำเป็นต้องพิจารณาเตือนให้ทราบก่อน หากยังไม่ยอมรับฟัง ทางสำนักมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอให้ออกจากสำนัก ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่น ที่จะเข้ามาปฏิบัติต่อไป

๓๘. ข้อแนะนำนี้ เป็นคู่มือให้รายละเอียดในแนวทางปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมจะได้เข้าใจ สบายใจในการอยู่อาศัยและปฏิบัติกรรมฐาน ร่วมกันอย่างสงบ ในสังคมของผู้ปฏิบัติธรรมย่อมประหยัดการพูด โอกาสที่ท่านจะถามระเบียบหรือโอกาสที่จะมีผู้อธิบายแนะนำแก่ท่านมีน้อย คู่มือนี้ จะช่วยท่านได้เป็นอย่างดี

กำหนดเวลาการปฏิบัติธรรม

เช้า ๐๓.๓๐ น. ตื่นนอน พร้อมกัน ณ สถานที่ปฏิบัติธรรม

สวดมนต์ทำวัตรเช้า (แปล)

เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน

๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า

๐๘.๐๐ น. สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่สถานที่ปฏิบัติ

๑๑.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

บ่าย ๑๓.๐๐ น. เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่สถานที่ปฏิบัติ

๑๗.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ พักผ่อน

ค่ำ ๑๘.๓๐ น. เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ที่ศาลาปฏิบัติ

สวดมนต์ทำวัตรเย็น (แปล)

๒๑.๓๐ น. สอบอารมณ์

๒๓.๐๐ น. พักผ่อน นอน

วันพระ ภาคเช้า

ภาคบ่าย

ภาคค่ำ

การเตรียมตัวไปปฏิบัติธรรม

การเตรียมตัวไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน ผู้ปฏิบัติควรจะเตรียมตัวดังต่อไปนี้

1. ชุดปฏิบัติธรรมสีขาว

ชาย กางเกงขายาวสีขาว เสื้อแขนสั้นสีขาว

หญิง เสื้อแขนยาวสีขาว ผ้าถุงสีขาว สไบสีขาว

2. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น (ควรงดเว้นการสวมใส่เครื่องประดับ)

แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ เป็นต้น

3. ตั้งใจไปปฏิบัติธรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคล ได้เป็นผู้อนุเคราะห์ในเรื่องของที่พัก อาหาร พร้อม โดยท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ที่มา:ubmthai.com
www.bangkoktravel.siam.im

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดธรรมมงคล กทม

ถนนสุขุมวิท 101 ซอยปุณณวิถี 20 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 02-332-4145 แฟกซ์ 02-730-6335

เดิมเป็นป่าสะแก ซึ่งพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ ) ใชัเป็นที่พักธุดงค์ในระหว่างเดินทาง เข้ากรุงเทพฯ นายเถา-นางบุญมา อยู่ประเทศ มีศรัทธาจึงมอบที่ให้ และได้สร้างเป็นวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ . ๒๕๐๖ ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๐ ไร่ พระ เณร จำพรรษาประมาณ ๕๐๐ กว่ารูป


พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ฯ เป็นเจดีย์ที่สูงสุดในประเทศไทย ชั้นบนสุดบรรจุพระเกศา พระอุรังคธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับจากประเทศบังคลาเทศ ฐานเจดีย์ เป็นทรง ๔ เหลี่ยม สูง ๙๔.๗๘ เมตร มี ๑๔ ชั้น ประกอบด้วยห้องแสดงพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม สถาบันราชภัฏฯ ส่วนฐานเจดีย์เป็นโรงเรียน ครูสอนสมาธิ (สถาบันพลังจิตตานุภาพ) ประกอบด้วย ห้องเรียนขนาดใหญ่ รองรับนักศึกษาครั้งละ ประมาณ ๕๐๐ คน มีห้องเดินจงกรม ห้องนั่งสมาธิ ถ้ำวิปัสสนา ห้องอาหาร และห้องประชุม ที่มีทั้งความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอย รวมถึงการเปิดสถาบันชนาพัฒน์ซึ่งเป็นสถานศึกษาอาชีพแห่งใหม่ในประเทศไทยที่เชิญนักออกแบบชื่อดังจากประเทศอิตาลี มาสอนการออกแบบ เช่นการตกแต่งภายใน ออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องหนัง แฟชั่นดีไซด์


พระหยกเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานอยู่ในศาลาหลังคาแบบโดมแก้ว พระพุทธรูปหยกเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้มีนามว่า "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย" หยกชิ้นใหญ่นี้ได้ถูกค้นพบที่ใต้ทะเลสาบน้ำแข็ง ประเทศแคนนาดา หยกเป็นวัสดุที่มีความ แข็งแกร่งมาก และเหมาะแก่การนำมาสร้าง พระพุทธรูป เพราะมีความสวยงาม คงทนถาวร ตราบนานเท่านาน

ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ
ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของวัด ในหมู่บ้านรังสิยา เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้ฆราวาสผู้มาปฏิบัติธรรม มีที่พัก ที่สัปปายะ ภายในมีห้องพักแบบโรงแรม ๘๐ ห้อง จุผู้มาปฏิบัติได้ ประมาณ ๑๘๐ คน แบ่งห้องพักเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อไม่ให้แออัดและไม่รบกวนกัน มีทั้ง ห้องเดียว ห้องคู่ และห้องรวมสำหรับครอบครัว ทุกห้องมีเตียง มีที่นอนสปริง หมอน ผ้าปูที่นอน ตู้เสื้อผ้า และติดเครื่องปรับอากาศ ใช้รองรับผู้มาปฏิบัติสมาธิพักค้างคืนได้ตั้งแต่ ๓ วัน ถึง ๗ วัน มีห้องนั่งสมาธิ บริเวณจงกรม มุมหนังสือธรรมมะ และห้องอาหาร ให้บริการผู้มาเข้าอบรม
ศูนย์สมาธิ วิริยานุภาพวัดธรรมมงคล
การบำเพ็ญสมาธิเป็นประโยชน์มากต่อชีวิต แต่การแสวงหาสถานที่บำเพ็ญนั้นยากพอสมควร เพราะต้องมีครูบาอาจารย์ สถานรองรับอันเป็นที่สงบมีอิสระพร้อมทั้งความสะดวกสบาย จึงจะได้ผลสมความตั้งใจ
ณ ที่ใกล้พระมหาเจดีย์ วัดธรรมมงคล ได้จัดสถานสมาธิเป็นบริเวณ 600 ตารางวา เป็นอาคารเพื่อบำเพ็ญสมาธิเพียบพร้อมทุกประการ เช่น ห้องบรรยาย ห้องนั่งสมาธิเป็นคณะ ห้องพักแรม ห้องสุขา ห้องครัว ห้องสนทนาธรรม มีแอร์คอนดิชั่น มีที่จอดรถ และมีครูบาอาจารย์คอยแนะนำวิธีการ พร้อมทั้งโปรแกรมประจำวัน

สำหรับผู้จะมาบำเพ็ญสมาธิไม่จำเป็นต้องรู้จักใคร เมื่อมีความประสงค์เพียงนำรถมาจอด เข้าพบเจ้าหน้าที่รับรอง แจ้งหลักฐานประจำตัวรับโปรแกรมแล้วก็เข้าพักได้ทันทีเพราะมีห้องเป็นส่วนตัว ต่อจากนั้นก็ดำเนินการตามโปรแกรมจะอยู่กี่ชั่วโมงกี่วันนั้นอยู่ได้ตามประสงค์ตามรายการของโปรแกรมนั้น ๆ

จุดประสงค์ของ ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

1. ต้องการเผยแพร่สมาธิอย่างกว้างขวาง
2.เพื่อความสะดวกแก่ผู้ประสงค์ทำสมาธิเพราะว่าปัจจุบันมีคนจำนวนมากต้องการจะทำสมาธิแต่ไม่ทราบจะไปที่ไหน จะหาครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ลำบากด้วยสถานที่ทั้ง ไม่รู้จักใครบ้าง ไม่มีอิสระบ้าง เป็นต้น
3. เพื่อพักผ่อนทางใจ เพิ่มพูนพลังจิต พร้อมเพิ่มสมรรถนะทางใจให้มีความ
แกร่งสู่ความสำเร็จ
4. ให้บังเกิดความสุขพิเศษ

ถ้ำวิปัสสนา
ตั้งอยู่ในบริเวณสวนของวัด มีเนื้อที่ ๔ไร่ ่จำลองบรรยากาศการปฎิบัติในป่า-ถ้ำ เพื่อเข้าไปนั่งสมาธิ และฟังธรรมในถ้ำได้โดยปราศจากกังวลจากสัตว์ป่า ปากถ้ำ มีประตูมุ้งลวด จุคนได้กว่า ๒๐๐ คน ล้อมรอบด้วยสวนป่า มีไม้ดอกไม้ใบ สระน้ำและเนินเขาซึ่งให้บรรยากาศร่มรื่น เป็นป่ากลางกรุง

สถานที่วิปัสสนา

๑. วัดธรรมมงคล

๑๓๒ ถ.สุขุมวิท ซอย ๑๐๑ ตรอกปุณณวิถี ๒๐
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๒๖๐
โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗, ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕, ๐๒-๗๔๑-๗๘๒๒
วิปัสสนาจารย์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก
ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
๕. สถานปฏิบัติธรรม จ.เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง

๒. วัดอัมพวัน

๕๓ หมู่ที่ ๔ ถ.เอเชีย กม. ๑๓๐ บ้านอัมพวัน
ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๖๐
โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑, (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”

๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
โทร. ๐๒-๔๑๓-๑๗๐๖, ๐๒-๘๐๕-๐๗๙๐-๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔. สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)

๖๘ หมู่ที่ ๑ ต.เลเม็ด อ ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
โทร. (๐๗๗) ๔๓๑-๕๙๖-๗, (๐๗๗) ๔๓๑-๖๖๑-๒
วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
สวนโมกขพลารามมีการจัดอบรมปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกเดือน

๕. วัดป่าสุนันทวนาราม

๑๑๐ หมู่ที่ ๘ บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน
เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิมายา โคตมี คุณดารณี บุญช่วย
โทร. ๐๒-๓๒๑-๖๓๒๐, ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓, ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓

๖. วัดภูหล่น

๙ บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๕๐
ปฐมวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
(วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ
มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้
มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา
ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

๗. วัดถ้ำขาม

บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน
วัดอยู่บนเขาสูง แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า
ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติภาวนาขั้นอุกฤษฎ์

๘. วัดมเหยงคณ์

ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐
โทร. (๐๓๕) ๘๘๑-๖๐๑-๒, ๐๘-๑๘๕๓-๕๖๖๙ โทรสาร (๐๓๕) ๘๘๑-๖๐๓
วิปัสสนาจารย์ พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
แนวการปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้รูป-นาม
- บวชเนกขัมมภาวนา ในช่วงเทศกาลวันสำคัญของชาติ-ศาสนา
และวันประเพณีไทย ปีละ ๘ ครั้ง รับสมัครทั้งชาย-หญิง ไม่จำกัดจำนวน
- จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน รุ่นระยะเวลา ๙ วัน เป็นประจำทุกเดือนๆ ละ ๑ ครั้ง
รับสมัครเฉพาะผู้ที่สนใจจริงในการเจริญสติปัญญาเท่านั้น ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
จำนวนจำกัดรุ่นละ ๓๕ ท่าน โดยต้องสมัครเข้าอบรมล่วงหน้า
- บวชเนกขัมมภาวนาถือศีล ๘ ปฏิบัติธรรมเป็นประจำทุกวัน
รับสมัครทั้งชาย-หญิง โดยมีพิธีบวชทุกๆ วัน เวลา ๐๙.๐๐ น.
- ถือศีลอุโบสถ พักค้างคืนที่วัดทุกวันพระตลอดปี
- อบรมปฏิบัติธรรมพิเศษให้กับคณะข้าราชการหรือเอกชนที่ขอเข้ารับการอบรมเป็นกลุ่ม
- รับกุลบุตรที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตั้งใจจะบวชเป็นภิกษุสามเณรเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม

๙. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต

หมู่ที่ ๑ สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ๑๘๒๓๐
โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘, (๐๓๖) ๓๐๕-๒๓๙
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
แนวการปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ภาวนา “พุทโธ”
ทุกวันเสาร์-อาทิตย์, วันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญของชาติ
จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ

ปัจจุบัน สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีวัดสาขาอีก ๒ แห่งคือ
(ก) วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต)
บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม กิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐
เจ้าหน้าที่ : แม่ชีแวว โทร. ๐๘-๑๖๐๐-๐๘๔๘

(ข) สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
หมู่ที่ ๘ บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ๓๐๑๓๐
เจ้าหน้าที่ : แม่ชีนลินรัตน์ โทร. ๐๘-๙๗๗๗-๑๖๒๕
สาขาปากช่องนี้ มีเนื้อที่ ๒๐๐ กว่าไร่ บรรยากาศเหมือนรีสอร์ท
อากาศเย็นสบาย ร่มรื่น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นยิ่งนัก
โดยเราอาจเลือกปฏิบัติบนศาลาร่วมกับหมู่คณะ
หรือเลือกปฏิบัติแบบเข้ม-เข้ากรรมฐาน ปิดวาจา พักในกุฏิ ก็ได้
นอกจากนี้แล้ว สาขานี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดอบรมปฏิบัติธรรม
โดยเฉพาะจัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
คณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้าราชการตำรวจ-ทหาร
และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ

๑๐. วัดสนามใน

๒๗ หมู่ที่ ๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐
โทร. ๐๒-๔๒๙-๒๑๑๙, ๐๒-๘๘๓-๗๒๕๑
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
แนวการปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔
วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา

๑๑. วัดป่านานาชาติ

หมู่ที่ ๗ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ๓๔๓๑๐
(สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท และพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
แนวการปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่างๆ มาก
คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ
การไปให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่

๑๒. วัดปทุมวนาราม

ถ.พระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
โทร. ๐๒-๒๕๑-๒๓๑๕, ๐๒-๒๕๒-๕๔๖๕
วิปัสสนาจารย์ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้
บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม
กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์-ศุกร์ วันละ ๓ เวลา
เช้า ๗.๐๐-๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.

๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ

๓๐๐ ถ.รัชมงคลประสาธน์ แขวงปากคลองภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
โทร. ๐๒-๔๖๗-๐๘๑๑, ๐๒-๔๕๗-๙๐๔๒, ๐๒-๔๕๗-๔๐๐๑
วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)
แนวการปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม
๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี

๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์

๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
แนวการปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ
เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
เช้า ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.

๑๕. วัดอินทรวิหาร

อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร
แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทร. ๐๒-๖๒๘-๕๕๕๐-๒
วิปัสสนาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย
เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน

๑๖. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล

ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐
โทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๙, ๐๒-๔๔๑-๙๐๑๒
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน
มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อมหรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ ๒ จังหวัดปทุมธานี

๑๙ หมู่ที่ ๑๖ ต.คลองสาม อ.คลองสาม จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐
โทร. ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๕ โทรสาร ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑
เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เพชรเกษม ๕๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๑๘. วัดอโศการาม

๑๓๖ หมู่ที่ ๒ กม. ๓๑ ถ.สุขุมวิท (สายเก่า) ซ.สุขาภิบาล ๕๘
ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๘๐
โทร. ๐๒-๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒-๗๐๓-๘๔๐๕
วิปัสสนาจารย์ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
พื้นที่อาณาบริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด
กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัด ๔๐๐ กว่าหลัง
ส่วนมากตั้งอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง

๑๙. วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร

บ้านห้วยใหญ่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ๒๐๑๕๐
โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๕๐๖, (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒, (๐๓๘) ๒๓๗-๙๑๒
วิปัสสนาจารย์ พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)
สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง
ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง

๒๐. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม

ซ.ประชานุกูล ๗ ถ.ชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๐๐๐
โทร. (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖, (๐๓๘) ๒๘๓-๓๔๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สำนักฯ มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิง-ชาย แยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก
การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด
การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ
ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์-พระวิปัสสนาจารย์
ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน

๒๑. วัดภัททันตะอาสภาราม
สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี

๑๑๘/๑ หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐
โทร. (๐๓๘) ๒๙๒-๓๖๑, ๐๘๑-๗๑๓-๐๗๖๔, ๐๘๑-๙๒๑-๑๑๐๑
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
เปิดสอนทุกวัน มีพระวิปัสสนาจารย์คอยสอบอารมณ์กรรมฐานทุกๆ วัน
โดยผู้เข้ามาปฏิบัติฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
- เป็นสถานที่ฝึกอบรมพระสังฆาธิการสนองงานคณะสงฆ์
- เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของบุคลากรจากหน่วยราชการต่างๆ
ตลอดจนฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
สามารถรองรับผู้เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ประมาณ ๕๐๐ รูป/คน
โดยเป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม
สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งนาและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก

๒๒. วัดเขาสุกิม

๑๒ ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ๒๒๑๒๐
โทร. ๐๘-๙๙๓๑-๕๕๔๔, ๐๘-๑๔๕๖-๘๓๘๔
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่
มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย
มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอนหมอนให้ หรือพักที่กุฏิว่างต่างๆ

๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

๖๐ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๖๑๐๐๐
โทร. (๐๕๖) ๕๑๑-๓๖๖, (๐๕๖) ๕๑๑-๓๙๑
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

๒๔. วัดถ้ำผาปล่อง

ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๗๐
วิปัสสนาจารย์ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง
หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง
เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป
และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์
การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ
ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า
“การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”

๒๕. วัดป่าสาลวัน

ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
โทร. (๐๔๔) ๒๕๔-๔๐๒, ๐๘-๑๙๖๗-๑๔๓๕
วิปัสสนาจารย์ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา
ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม

๒๖. วัดแดนสงบอาสภาราม

๙๙ ซอย ๑๙ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, (๐๔๔) ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ (ศรีสิวรรณ สิริสุวณฺโณ)
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
วัดเป็นศูนย์วิปัสสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีการจัดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตลอดทั้งปี

๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว

หมู่ที่ ๑๑ บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐
โทร. (๐๔๔) ๒๔๙-๐๔๕
วัดป่าวะภูแก้วเป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
วิปัสสนาจารย์ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม
มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

๒๘. วัดหนองป่าพง

๔๖ หมู่ ๑๐ บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐
โทร. (๐๔๕) ๓๒๒-๗๒๙
วิปัสสนาจารย์ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
แนวการปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

๖ หมู่ที่ ๒๕ บ้านเนินทาง ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, (๐๔๓) ๑๒๗-๗๙๐
เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขาของวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน

๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา)

ซ.ศรีจันทร์ ๑๓ ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”

๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง

บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๒๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง
มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก
เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา
และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างไกลจากตัวเมือง

๓๒. วัดถ้ำกองเพล

ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐
โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ
ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน
บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่างๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

๓๓. วัดป่าบ้านตาด

บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ๔๑๐๐๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก
แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี
ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย
เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน
และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

๓๔. วัดหินหมากเป้ง

หมู่ที่ ๔ บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ๔๓๑๓๐
โทร./โทรสาร (๐๔๒) ๔๒๑-๔๐๙
วิปัสสนาจารย์ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่
ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ร่มรื่น สงบเย็น เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

๓๕. วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)

บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ๔๓๒๑๐
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน
สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร
ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด
บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร
เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น
เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด
ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว
จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น
มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน)
เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์

หมู่ที่ ๓ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ และพระอาจารย์แบน ธนากโร
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ปกติจะปฏิบัติธรรมที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิและอาคารซึ่งสะอาดทันสมัย
วัดดอยธรรมเจดีย์ เป็น ๑ ใน ๔ วัดที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
กล่าวชมว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งภาคปฏิบัติ
เพราะข้อวัตรปฏิบัตรค่อนข้างเคร่งครัดตามแบบฉบับพระกรรมฐานสายนี้

๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง)

ถนนรพช. หมู่ที่ ๑ ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗๑๙๐
โทร. (๐๔๒) ๗๒๒-๐๐๒
วิปัสสนาจารย์ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ณ ที่วัดแห่งนี้มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งหลวงปู่มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า
เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

๓๘. วัดป่าสุทธาวาส

๑๓๙๖ หมู่ที่ ๑๐ บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐
โทร. (๐๔๒) ๗๓๓-๐๔๑, (๐๔๒) ๗๑๑-๕๗๓
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย

๓๙. วัดคำประมง

๒๐ หมู่ที่ ๔ บ้านคำประมง ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐
โทร. ๐๘-๑๖๐๑-๖๙๖๐, ๐๘-๑๓๒๒-๗๑๐๗ โทรสาร (๐๔๒) ๗๗๙-๒๗๖
วิปัสสนาจารย์ พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ
มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี
มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่
ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ

๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)

เขากิ่ว ต.ไร้ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ)
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก
บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก

๔๑. เสถียรธรรมสถาน

๒๔/๕ หมู่ที่ ๘ ซ.วัชรพล (ถ.รามอินทรา ๕๕)
แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐
โทร. ๐๒-๕๑๐-๖๖๙๗, ๐๒-๕๑๐-๔๗๕๖ โทรสาร o๒-๕๑๙-๔๖๓๓
วิปัสสนาจารย์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น
สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สาธุชนทุกท่านสามารถ
เข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้
ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง

๔๒. บ้านซอยสายลม

๙ ถ.พหลโยธิน ซอย ๘ ซอยสายลม (ระหว่างตึกชินวัตร ๑ และตึกพหลโยธินเพส)
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

๔๓. วัดพิชยญาติการาม

๖๘๕ ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. ๑๐๖๐๐
โทร. ๐๒-๘๖๑-๔๓๑๙, ๐๒-๔๓๘-๔๔๔๒
วิปัสสนาจารย์ พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
มีการปฏิบัติธรรม อบรมกรรมฐาน และดูกฎแห่งกรรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์

๔๔. วัดผาณิตาราม

ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐
โทร. (๐๓๘) ๕๐๒-๐๐๐, (๐๓๘) ๕๐๒-๐๘๗-๘
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป
สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก ที่พักสะอาด สะดวก ปลอดภัยดีมาก
และที่ปฏิบัติมีเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔๕. วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ๑๘๑๒๐
โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕, ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙, ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒
วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
แนวการปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก

๔๖. วัดสังฆทาน

๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทร. ๐๒-๔๔๗-๐๗๙๙, ๐๒-๔๔๗-๐๘๐๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
มีการจัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน ทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่

๔๗. ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า

ประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า รวมทั้งหมด ๕ ศูนย์
อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์

(๑) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา
กม. ๑๖๖+๙๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ (สุวรรณศร)
๒๐๐ บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐
โทร. (๐๓๗) ๔๐๓-๑๘๕, ๐๘-๙๗๘๒-๙๑๘๐

(๒) ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา
กม. ๔๙+๔๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ (พิษณุโลก-หล่มสัก)
๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐
โทร. (๐๕๕) ๒๖๘-๐๔๙, ๐๘-๑๖๐๕-๕๕๗๖, ๐๘-๖๔๔๐-๓๔๖๓

(๓) ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา
๑๑๒ หมู่ที่ ๑ ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ๔๐๒๔๐
โทร. ๐๘-๖๗๑๓-๕๖๑๗, ๐๘-๔๗๙๖-๖๐๖๙

(๔) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา
๒๐/๖ หมู่ที่ ๒ บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔๐
โทร. (๐๓๔) ๕๓๑-๒๐๙, ๐๘-๑๘๑๑-๖๔๔๗, ๐๘-๑๘๑๑-๖๑๙๖

(๕) ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่
แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐
โทร. ๐๒-๙๙๓-๒๗๑๑, ๐๒-๙๙๓-๒๗๐๐, ๐๘-๑๘๔๓-๖๔๖๗

วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร ๑๐ วัน
สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี

๔๘. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

๕๔๙/๙๔ ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ ๓๗) ถ.จรัญสนิทวงศ์
แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทร. ๐๒-๔๑๒-๒๗๕๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
แนวการปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม
และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น
ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๑.๓๐ น. ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์

๔๙. วัดชลประทานรังสฤษฎ์

๗๘/๘ หมู่ที่ ๑ ก.ม.๑๔ ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐
โทร. ๐๒-๕๓๘-๘๘๔๕, ๐๒-๕๘๔-๓๐๗๔
วิปัสสนาจารย์ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)
แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา
ทุกวันอาทิตย์สาธุชนจะมาทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก

๕๐. วัดเขาพุทธโคดม

ศาลาธรรมสันติ ๔๒/๒ หมู่ที่ ๔ ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
โทร. (๐๓๘) ๗๗๒-๑๓๒, (๐๓๘) ๗๗๒-๙๔๔, (๐๓๘) ๓๑๒-๖๐๘
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
ทางวัดได้จัดเครื่องนอน พร้อมอาหารเลี้ยงฟรี เป็นมังสวิรัติแต่รสชาติดี
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ใดมีปัญหาสุขภาพรับศีล ๘ ไม่ได้
ก็ขอให้รับศีล ๕ แทน จะมีการตระเตรียมอาหารเย็นไว้ให้
ห้ามบอกบุญเรี่ยไรใดๆ ทั้งสิ้น หากจะทำบุญขอให้ไปที่กุฏิธุรการเท่านั้น
รวมทั้งห้ามทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนขอให้มีสัมมาวาจา งดพูดมาก

๕๑. วัดบูรพาราม

ถ.กรุงศรีใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๓๒๐๐๐
โทร. (๐๔๔) ๕๑๔-๒๓๔
วิปัสสนาจารย์ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
แนวการปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
วัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุรินทร์ หน้าศาลากลางจังหวัด
แต่สงบเงียบ สงบเย็น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
วัดบูรพารามเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านมีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต
จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็น ‘บิดาแห่งการภาวนาจิต’

๕๒. วัดไตรสิกขาทลามลตาราม และวัดนิเพธพลาราม

บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ๔๗๒๕๐
โทร. ๐๘-๑๘๗๒-๘๔๓๓, ๐๘-๑๓๒๐-๗๘๖๒, ๐๘-๑๘๗๑-๙๘๔๕
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
แนวการปฏิบัติ แนวเจริญอานาปานสติกรรมฐาน
วัดนิเพธพลาราม ตั้งอยู่ห่างจากวัดไตรสิกขาฯ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
ทางวัดมีการจัดปฏิบัติธรรม เนื่องในโอกาสสำคัญ เช่น
- งานเสขปฏิปทา เป็นงานปฏิบัติธรรมประจำปี
- วิสาขบูชามหาพุทธชยันตี งานวันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ฯลฯ
ซึ่งจะมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วทุกสานุทิศ
เดินทางมาปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา เป็นจำนวนมาก

๕๓. วัดปัญญานันทาราม

๑ หมู่ที่ ๑๐ ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๑
โทร. ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๑-๒, ๐๒-๙๐๔-๖๑๐๗ โทรสาร ๐๒-๙๐๔-๖๐๖๕
วิปัสสนาจารย์ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)
และพระปัญญานันทมุนี (พระมหาสง่า สุภโร)
แนวการปฏิบัติ แนวอานาปานสติภาวนา
วัดปัญญานันทาราม มีโครงการสําหรับสาธุชนทั่วไปมากมาย เช่น
- โครงการเพิ่มโอกาสบวชธรรมจาริณี
- โครงการสืบสานวัฒนธรรมรักษาอุโบสถ (วันพระ)
- โครงการชีวิตใหม่ (บําเพ็ญบารมีวันอาทิตย์)
- โครงการสร้างความสุขด้วยการบําเพ็ญบุญ (วันสําคัญต่างๆ)
- โครงการวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ

๕๔. ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม “สวนสันติธรรม”

บ้านโค้งดารา ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐
(สาขาของวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์)
โทร. ๐๘-๑๙๑๕-๗๓๐๐, ๐๘-๑๕๕๗-๙๘๗๘
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แนวการปฏิบัติ แนวดูจิต ตามหลักสติปัฎฐาน ๔
บรรยากาศภายในสวนสันติธรรมสงบเย็น ร่มรื่น สัปปายะ
ควรไปถึงวัดก่อนเวลา ๐๘.๐๐ น. เพราะเป็นเวลาที่พระฉัน
จะมีการสอบถามถึงผลและปัญหาในการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฎฐาน ๔
ตลอดจน รายงานผลการปฏิบัติของแต่ละคน ซึ่งเรียกว่า ‘ส่งการบ้าน’
ไม่มีการแจกวัตถุมงคล ไม่มีการรดน้ำมนต์

๕๕. วัดป่าสุคะโต สถาบันสติปัฏฐาน

หมู่ที่ ๘ บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐
โทร. ๐๘-๕๔๙๒-๗๗๐๙, ๐๘-๗๙๕๗-๑๖๘๔
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
แนวการปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔
วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
มีการจัดอบรมเจริญสติภาวนา (หลักสูตร ๗ วัน) เป็นประจำทุกเดือน

๕๖. สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล)

สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ
๑๔๙ หมู่ที่ ๑ บ้านช่องแคบ ก่อนถึงน้ำตกไทรโยคน้อย
ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐
โทร. ๐๘-๑๘๖๒-๑๗๕๗
วิปัสสนาจารย์ อุบาสิกาบงกช สิทธิผล
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา
สถานที่ของสำนักฯ มีความสัปปายะ สงบเงียบ ร่มรื่น งดงาม อากาศเย็น
รอบล้อมด้วยต้นไม้ ป่า และภูเขา เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นยิ่งนัก
ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้
ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง
มีอาหารมังสวิรัติให้รับประทานตอนมื้อเที่ยงทุกวัน